วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เฉลยแนวข้อสอบภาษาไทยO-Net ชุดที่๑ (ข้อ๑๑-๑๕)


๑๑. ตอบ ๓. ประธานชมรมกำลังซาวเสียงสมาชิกว่าจะไปออกค่ายที่ไหนกันดี
ซาวเสียง แปลว่า หยั่งเสียงเพื่อฟังความคิดเห็น  คำว่า ซาวคำนี้ ไม่ได้มาจากภาษาอังกฤษว่า Sound
เทคนิคการจำ ซาวข้าว ซาวน้ำ ซาวเสียง  สามซาวเรียงเขียนแบบนี้ จำไว้ให้ดี
ส่วนข้อ ๑. เขียนให้ถูกต้องว่า กะเพรา
เทคนิคการจำ กะเพรา เป็นผักไทย เป็นคำไทย ซึ่งคำไทยจะเขียนง่าย สะกดตามรูป
เทคนิคการจำ กะ คำไทย ส่วน กระ คำเขมร
ข้อ ๒. เขียนให้ถูกต้องว่า เลือดกบปาก  กบ ในที่นี่เป็นคำวิเศษณ์ แปลว่า เต็มมาก
ดังนั้น เลือดกบปาก จึงหมายถึง เลือดเต็มปาก ส่วน กลบ เป็นคำกริยา แปลว่า ปิดบังหรือฝัง
เทคนิคการจำ เลือดกบปาก  ให้นึกว่า มีเลือดกบมาอยู่ที่ปาก
ข้อ ๔. เขียนให้ถูกต้องว่า เงินทดรองจ่าย (ทดรอง แปลว่า ออกทรัพย์แทนไปก่อน)
เทคนิคการจำ ทดรองจ่าย คือ สำรองจ่ายไปก่อน (เขียน รองเหมือนกัน)

๑๒. ตอบ ๓. แก้เคล็ดวัยเบญจเพศควรทำอย่างไร
คำที่ถูกต้องควรเขียนว่า เบญจเพส สาเหตุที่เขียนผิดเพราะอาศัยแนวเทียบเคียงจากรูปของคำว่า เพศ
เทคนิคการจำ เบญจเพส  เบญจ = ห้า  เพส = ยี่สิบ (สังเกต เพส มี ส เสือ และยี่สิบ ก็มี ส เสือ)
ส่วนข้อ ๑. เกษียรสมุทร เขียนถูกต้องแล้ว อ่านว่า กะ-เสียน-สะ-หมุด
เกษียร   น. น้ำนม
เกษียรสมุทร   น. ทะเลน้ำนม
เทคนิคการจำ เกษียรสมุทร  สมุทร ใช้ ร เรือ  เกษียร ก็ใช้ ร เรือด้วย
ส่วนข้อ ๒. เกษียนหนังสือ เขียนถูกต้องแล้ว อ่านว่า กะ-เสียน-หนัง-สือ
เกษียน  ก. เขียน (สังเกต เกษียน มี น หนู และเขียน ก็มี น หนู)
น. ข้อความที่เขียนแทรกไว้เช่นในใบลาน, เรียกข้อความที่เขียนไว้บนหัวกระดาษคำสั่ง หรือหนังสือราชการว่า หัวเกษียน
เทคนิคการจำ เกษียนหนังสือ  หนังสือ ใช้ น หนู  เกษียน ก็ใช้ น หนูด้วย
ส่วนข้อ ๓. เกษียณอายุ เขียนถูกต้องแล้ว อ่านว่า กะ-เสียน-อา-ยุ
เกษียณ  ก. สิ้นไป (ใช้เกี่ยวกับการกำหนดอายุ)
freethaitestsbyP'Ray

๑๓. ตอบ ๔. ๕ คำ
คำตั้งหรือแม่คำ คือ คำที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมาย
จากโจทย์จะเห็นว่า มีคำที่ยกขึ้นมานิยามความหมาย ๕ คำ

๑๔. ตอบ ๑. ๑ คำ
คือ คำว่า เมี่ยง จะเห็นว่ามีการใส่วงเล็บและเขียนว่า            (ถิ่น-พายัพ) เป็นการระบุถึงการใช้เฉพาะแห่ง

๑๕. ตอบ ๓. กับข้าวมื้อนี้มีผัดบรอกโคลีด้วย
บรอกโคลี เป็นคำทับศัพท์ ที่มาจากภาษาอังกฤษว่า Broccoli
ส่วนข้อ ๑. เออเรอ ใช้คำไทยว่า ข้อผิดพลาด ความผิดพลาด
ข้อ ๒. เลกเชอร์ ใช้คำไทยว่า คำบรรยาย               และข้อ ๔. ชัวร์  ใช้คำไทยว่า แน่ใจ มั่นใจ

กลับไปดู แนวข้อสอบภาษาไทยO-Net ชุดที่๑ (ข้อ๑๑-๑๕)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น