วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เฉลยแนวข้อสอบภาษาไทยO-Net ชุดที่๑ (ข้อ๑-๕)

๑.ตอบ ๑. ข้อ ก.
                สระประสมหรือสระเลื่อน เกิดจากการนำสระเดี่ยวหรือสระแท้ ๒ ตัว มาประสมกัน และเกิดการเลื่อนของเสียงจาก สระ อิ อี อึ อื อุ อู ไปหาสระ อะ อา ดังนี้
                อิ + อะ = เอียะ                      อี + อา = เอีย
                อึ + อะ = เอือะ                      อื + อา = เอือ
                อุ + อะ = อัวะ                       อู + อา = อัว
                ในภาษาไทยปัจจุบัน นักภาษาศาสตร์ถือว่าเสียงสระประสมมี ๓ หน่วยเสียงเท่านั้น คือ เอียะ เอีย, เอือะ เอือ, อัวะ อัว
                เทคนิคการจำสระประสม ให้ท่องว่า เชื่ออั๊วเรียน” (เชื่อ = สระ เอือ), (อั๊ว = สระ อัว), (เรียน = สระ เอีย)
จากโจทย์จะเห็นว่า ข้อ ก. มีสระ อัว ในคำว่า นวล และ สงวน (ง่ายป่ะล่ะ)

๒. ตอบ ๔. ข้อ ง.
                รูปพยัญชนะไทยมี ๔๔ ตัว โดยแบ่งเป็น
อักษรกลาง ๙ ตัว คือ ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ
(เทคนิคการจำ อักษรกลาง ๙ ตัว คือ ไก่ จิก เด็ก ตาย เฎ็ก ฏาย บน ปาก โอ่ง)
อักษรสูง ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ถ ฐ ผ ฝ ศ ษ ส ห
(เทคนิคการจำ อักษรสูง ๑๑ ตัว คือ ขว้าง ฃวด เฉียด ถูก ฐาน ผึ้ง ฝา ศาลา ฤๅษี เสือ หีบ)
อักษรต่ำ ๒๔ ตัว แบ่งเป็นอักษรต่ำเดี่ยว ๑๐ ตัว และอักษรต่ำคู่ ๑๔ ตัว โดยอักษรต่ำคู่จะมีคู่เสียงกับอักษรสูง ดังนี้
       อักษรสูง               อักษรต่ำคู่
       ข ฃ                      ค ฅ ฆ
       ฉ                          ช ฌ
       ถ ฐ                       ท ฑ ฒ ธ                     
       ผ                          พ ภ
       ฝ                          ฟ
       ศ ษ ส                    ซ
       ห                           ฮ
อักษรต่ำเดี่ยว ๑๐ ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล
(เทคนิคการจำ อักษรต่ำเดี่ยว ๑๐ ตัว คือ งู ใหญ่ นอน อยู่ ณ ริม วัด โม ฬี โลก)
โจทย์ถามว่า มีอักษรต่ำน้อยที่สุด(ไม่นับอักษรที่ซ้ำกัน) จึงต้องนับทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้าย(ตัวสะกด) เพราะโจทย์ไม่ได้กำหนดอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงต้องนับหมด
จะเห็นว่า ข้อ ก. จงรักนวลสงวนนามห้ามใจไว้   มีอักษรต่ำที่ไม่ซ้ำกัน ๖ ตัว
ข้อ ข. อย่าหลงใหลจำคำที่ร่ำสอน    มีอักษรต่ำที่ไม่ซ้ำกัน ๖ ตัว
ข้อ ค. คิดถึงหน้าบิดาและมารดร   มีอักษรต่ำที่ไม่ซ้ำกัน ๖ ตัว
ข้อ ง. อย่ารีบร้อนเร็วนักมักไม่ดี   มีอักษรต่ำที่ไม่ซ้ำกัน ๕ ตัว

๓. ตอบ ๒. ข้อ ข.
                อักษรนำ คือ การอ่านแบบมีเสียง ห นำ หมายถึง พยัญชนะต้น ๒ ตัว ประสมด้วยสระและตัวสะกดเดียวกัน
อักษรนำ มี ๓ ประเภท ดังนี้
๑)อักษรสูงหรืออักษรกลาง นำหน้า อักษรต่ำเดี่ยว  ให้ออกเสียงอักษรต่ำเดี่ยวตามเสียงอักษรสูงหรืออักษรกลางที่นำหน้าอยู่ โดยให้อ่านออกเสียง อะ ที่พยางค์แรก เช่น จรวด  จ จาน เป็นอักษรกลาง  ร เรือ เป็นอักษรต่ำเดี่ยว ให้ออกเสียงตาม จ จาน จึงอ่านว่า จะ หรวด
๒)ห นำ อักษรต่ำเดี่ยว เช่น หนา หมา เป็นต้น
๓)อ อ่าง นำ ย ยักษ์ มี ๔ ตัวเท่านั้น คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก เป็นต้น
จากโจทย์จะเห็นว่า ข้อ ข. มีคำว่า อย่า หลงใหล อ่านแบบอักษรนำถึง ๒ คำ
ส่วนข้อ ก. มีคำว่า สงวน  ข้อ ค. มีคำว่า หน้า  และข้อ ง. มีคำว่า อย่า  เพียงคำเดียวเท่านั้น (ง่ายใช่ไหมล่ะ)
freethaitestsbyP'Ray

๔. ตอบ ๓. ชัดเจน เหตุการณ์ โดดเรียน
จากโจทย์จะเห็นว่า กฎมีตัวสะกด ด เด็ก ส่วน เกณฑ์มีตัวสะกด น หนู ซึ่งตรงกับตัวเลือก ๓

๕. ตอบ ๔. ในหม้อนี้ มีแต่ปลาเน่า ๆ
จากโจทย์จะเห็นว่า ข้อ ๑. กล้วย ๆ หมู ๆ ไม่ใช่กล้วยหรือหมูหลายตัว แต่มีความหมายว่า ง่าย สะดวก
ข้อ ๒. ลวก ๆ หมายถึง หยาบ ๆ ไม่เรียบร้อย
ข้อ ๓. งู ๆ ปลา ๆ ไม่ใช่งูหรือปลาหลายตัว แต่หมายถึง รู้ไม่จริง มีความรู้เล็กน้อย
ข้อ ๔. เน่า เป็นคำคุณศัพท์ เมื่อนำมาซ้ำกัน จะมีความหมายเป็นพหูพจน์ (ข้อนี้ก็ไม่ยากนะ สู้ ๆ)

กลับไปดูข้อสอบ  แนวข้อสอบภาษาไทยO-Net ชุดที่๑ (ข้อ๑-๕)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น